หน้าเว็บ

Lecture



การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมือนกับสิ่งแวดล้อม
Design for a variety of Web Environments
ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์
·       เบราเซอร์ที่ใช้
-          เบราเซอร์คือโปรแกรมที่เรียนใช้ดูเว็บเพจ โดยสามารถแสดงผลได้ทั้งรูปแบบตัวอักษร,รูปภาพและภาพเคลื่อนไหว
·       ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์
-          ระบบปฏิบัติการเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเบราเซอร์มาก โดยแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิดและรุ่นของเบราเซอร์ที่ใช้,ระดับความละเอียดของหน้าจอ,ชุดสีของระบบ และชนิดของตัวอักษรที่มาพร้อมกับระบบ เป็นต้น
·       ความละเอียดของหน้าจอ
-          ความละเอียดของหน้าจอจะไม่ขึ้นอยู่กับขนาดของมอร์นิเตอร์ที่ใช้ แต่จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลว่าสามารถทำได้ละเอียดแค่ไหน
·       จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้
-          มอร์นิเตอร์มีสามารถแสดงสีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดจอ
-          จำนวนหน่วยความจำในการ์ดจอที่มากขึ้นจะทำให้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น
-          จำนวนสีที่การ์ดจอสามารถแสดงได้นั้น ขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดชองสีที่เรียกว่า bit depth หรือ color depth ซึ่งก็คือจำนวนบิตที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแต่ละพิกเซล
·       ชนิดของตัวอักษรที่อยู่ในเครื่องของผู้ใช้
-          เบราเซอร์จะแสดงฟ้อนที่กำหนดไว้ในเว็บเพจได้ก็ต่อเมื่อ คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีฟ้อนเหล่านั้นติดตั้งอยู่ในเครื่อง
-          MS Sans Serif เป็นฟ้อนแบบบิตแมพ ที่ออกแบบขึ้นจากจุดของพิกเซล โดยมีการออกแบบแต่ละตัวอักษรไว้เป็นขนาดที่แน่นอน
-          Microsoft Sans Serif เป็นฟ้อนที่มีโครงสร้างของอักขระเป็นแบบเวกเตอร์หรือลายเส้น โดยมีการออกแบบไว้ที่ลายเพียงแบบเดียว แต่สามารถปรับขนาดได้อย่างไม่จำกัด
-          ตัวอักษรแบบกราฟฟิก
·       ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
-          ความเร็วของอินเตอร์เน็ตจะมีผลต่อเวลาที่ใช้ในการแสดงผลของเว็บ
-          ความเร็วของอินเตอร์เน็ตทีหลายระดับ
-          สิ่งที่เราสนใจในการออกแบบเว็บเพจให้ผู้ชมส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงเว็บได้อย่างรวดเร็ว
-          ในฐานะผู้ออกแบบเว็บไซต์จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายที่จะต้องออกแบบเว็บให้สวยงาม น่าสนใจและดาวน์โหลดได้เร็ว โดยทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กที่สุด
·       ขนาดหน้าต่างบราวเซอร์
-          ขนาดหน้าต่างของเบราเซอร์มีโอกาสที่ถูกปรับเปลี่ยนเป็นขนาดเท่าไหร่ก็ได้ตามความประสงค์ของผู้ใช้
-          ออกแบบเว็บเพจให้สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดได้
-          ออกแบบให้เว็บเพจมีขนาดคงที่
·       ความสว่างและค่าความต่างของโทนสี
-          นอกเหนือจากค่าแกมม่าที่ม่ผลต่อความสว่างของหน้าจอแล้ว ตัวผู้ใช้เองยังสามารถปรับระดับความสว่าง และความต่างของโทนสีจากมอร์นิเตอร์ได้
-          ผู้ออกแบบเว็บเพจต้องระวังไม่ให้หน้าเว็บมีโทรสีมืดหรือสว่างจนเกินไป และควรเลือกใช้โทรสีที่ต่างกันพอสมควร




การออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์
Designing Web Graphich
·       กราฟฟิกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของเว็บเพจ ช่วยสื่อความหมายสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใช้ รวมทั้งช่วยสร้างความสวยงามให้เว็บไซต์น่าดูยิ่งขึ้น
·       ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับกราฟฟิกคือ การเลือกใช้กราฟฟิกที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของรูป โดยไม่รู้จักความแตกต่างของรูปกราฟฟิก ส่งผลให้รูปที่ได้มีลักษณะไม่สมบรูณ์และมีไฟล์ใหญ่เกินจำเป็น
·       กราฟฟิกรูปแบบ GIF
-          GIF ย่อมาจาก Graphic Interchange Format
-          มีระบบสีแบบ index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากสุด 256 สี
-          มีการบีบบอัดข้อมูลตามแนวของพิกเซล เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น
-          ลักษณะเด่น คือ ไม่ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการใดๆ
·       กราฟฟิกรูปแบบ JPG
-          ย่อมาจาก Joint Photographic Group
-          มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต ทำให้มีสีมากสุด 16.7 ล้านสี
-          ใช้ระบบบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย
-          ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ้ายหรือการฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่างละเอียด
·       กราฟฟิกรูปแบบ  PNG
-          PNG ย่อมาจาก Protable Network Graphic
-          สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง 8 บิตและ 24 บิต
-          มีระบบการบีบอัดแบบ Deflate ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย
-          มีระบบการควบคุมค่าแกมม่า และความโปร่งใสในตัวเอง
·       ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ
-          รูปภาพใช้หน่วยวัดขนาดตามหน้าจอมอร์นิเตอร์ นั่นก็คือ หน่วยพิกเซล ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดของกราฟฟิกกับองค์ประกอบอื่นๆ ในหน้าเว็บ รวมถึงขนาดของหน้าต่างบราวเซอร์ด้วย
-          ระบบความละเอียดของรูปภาพที่แสดงบนจอมอร์นิเตอร์ควรใช้หน่วย pixel per inch (ppi)
-          แต่ในทางการใช้งานจะนำหน่วย dot per inch (dpi) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความละเอียดของสิ่งพิมพ์มาใช้งานแทน ppi
-          ความละเอียดของรูปภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ควรมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก็เพียงพอแล้ว
·       โปรแกรมการฟฟิกสำหรับเว็บ
-          ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายประเภทที่นำมาใช้ในการสร้างกราฟฟิกสำหรับเว็บ
Ø Adobe Photoshop
Ø Firework
Ø Gimp
-          ค่าพื้นฐานที่สามารถเลือกปรับได้คือ รูปแบบไฟล์,ชุดสีที่ใช้,จำนวนสี,ระดับความสูญเสีย,ความโปร่งใส และสีพื้นหลัง
·       คำแนะนำในกระบวนการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ
-          ออกแบบกราฟฟิกโดยใช้ชุดสีสำหรับเว็บ(Web Palette)
-          เลือกใช้รูปแบบกราฟฟิกที่เหมาะสม GIF หรือ JPEC
-          ตัดแบ่งกราฟฟิกออกเป็นส่วนย่อยๆ (Slices)




จัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์
Typography on the web
·       ตัวอักษรมีความสำคัญในการสื่อข้อความถึงผู้ใช้
·       ตัวอักษรมีหลายชนิด ควรเลือกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสมกับเนื้อหาและข้อมูลที่ต้องการสื่อ
·       ส่วนประกอบของตัวอักษร
-          Ascender : ส่วนบนของตัวอักษรพิมพ์เล้กที่สูงกว่าความสูง x-height ของตัวอักษร
-          Descender : ส่วนล่างของตัวอักษรพิมพ็เล็กที่ต่ำกว่าเส้น baseline
-          Baseline เส้นสมมุติที่ตัวอักษรส่วนใหญ่ตั้งอยู่
-          Cap height ความสูงจากเล้น baseline ไปถึงส่วนบนสุดของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
-          X-height ความสูงของตัวอักษร x ในแบบพิมเล็ก ซึ่งมักใช้อ้างถึงความสูงของตัวอักษรที่ไม่รวม ascender และ descender
·       รูปแบบตัวอักษร
-          ตัวอักษรที่มีขนาดสัมพันธ์กับรูปร่าง (Proportional Font) หรือตัวอักษรที่มีขนาดไม่คงที่
-          ตัวอักษรที่มีขนาดคงที่
·       ประเภทของตัวอักษร
-          ตัวอักษรประเภท Serif
Ø ตัวอักษรประเภทนี้จะมีเส้นเพิ่มขึ้นที่ส่วนปลาย
Ø เหมาะที่จะใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดเนื้อหา
Ø ไม่เหมาะกับการใช้เป็นตัวหนา
-          ตัวอักษรประเภท Sans-Serif
Ø ไม่มีลายเส้นตกแต่งอยู่ที่ตัวอักษร
Ø เหมาะที่จะใช้กับหัวข้อหรือตัวอักษรขนาดใหญ่
Ø ไม่เหมาะกับการใช้เป็นตัวหนา
·       ความสะดวกในการอ่าน
-          หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดเพราะจะทำให้อ่านยาก และลดความสะดุดตาลง
-          การตัวอักษรพิมพ์เล็กทั้งหมดในประโยค จะสร้างความรู้สึกไม่เป็นทางการ และแสดงถึงความไม่สมบูรณ์ของเนื้อหา
-          การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับตัวอักษรตัวแรกของแต่ละคำในประโยคควรใช้อย่างจำกัด
·       การจัดข้อความในหน้าเว็บ
-          การจัดตำแหน่ง
-          ระยะห่างระหว่างบรรทัด
-          ความยาวของหน้าเว็บ
-          ขนาดของตัวอักษร
-          ดึงดูดความสนใจด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่
-          การเน้นข้อความให้เด่นชัด
-          การใช้สีกับตัวอักษร
-          การกำหนดขอบแบบ Aliased และ Anti-aliased
·       คำแนะนำในการใช้ตัวอักษรในเว็บเพจ
-          ไม่ควรใช้ตัวอักษรที่หายากหรือไม่ได้มาพร้อมกับโปรแกรมต่างๆ
·       ข้อควรระวังในการใช้ตัวอักษรในเว็บเพจ
-          ระบุชนิดตัวอักษรให้ครอบคลุม
-          กำหนดลักษณะของตัวอักษรที่มีอยู่ในทุกช่องของตาราง
-          การระบุขนาดของตัวอักษร
-          ใช้ Cascading Style Sheets (CSS)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น